ภาวะหมดไฟ หรือ Burnout Syndrome
ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่อ่อนล้าทางอารมณ์ - เป็นผลจากความเครียดจากงานที่มากเกินไปเป็นเวลานาน ทำให้ผู้มีภาวะหมดไฟมีความรู้สึกว่างานนั้นเกินกำลังที่จะทำได้ ความรู้สึกการมีส่วนร่วมกับงานลดลงไปมาก และไม่ตอบสนองเป้าหมายในการทำงาน ทำให้ขาดความสนใจในเนื้องาน หมดแรงจูงใจ ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน จนทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการทำงาน ขาดงานบ่อย และทำให้คิดถึงเรื่องลาออก
ยิ่งปล่อยให้เกิดความรู้สึกแบบนี้นานเกินไป ยิ่งทำให้เสียแรงจูงใจในการทำงาน สูญเสียพลังจิตใจ ทัศนคติเชิงลบต่อความสามารถในการทำงานของตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ เป็นความคิดที่เป็นแง่ลบ โทษตัวเอง
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization)
ได้อธิบาย "อาการภาวะหมดไฟ" หลักๆ 3 อาการ ดังนี้
- รู้สึกสูญเสียพลังงาน หรือ มีภาวะอ่อนเพลีย
- รู้สึกต่อต้านและมองงานของตนเองในทางลบ
- รู้สึกเหินห่างจากคนอื่น ทั้งผู้ร่วมงานและสถานที่ทำงาน
สาเหตุของ ภาวะ BURNOUT SYNDROME มาจากอะไร?
กลุ่มอาการ BURNOUT SYNDROME มักเกิดจากงานที่ทำ เช่น ภาระงานหนัก ปริมาณงานมาก งานที่มีความซับซ้อน ต้องทำในเวลาเร่งรีบ มีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน ขาดอำนาจในการตัดสินใจ ทำงานที่ไม่ถนัด ต้องแก้ปัญหาด้วยตัวคนเดียวโดยขาดที่ปรึกษา ขาดการให้กำลังใจ ขาดความเชื่อมั่น ปริมาณงานไม่สอดคล้องกับจำนวนบุคลากร ระบบบริหารในที่ทำงานที่ไม่สอดคล้อง เป้าหมายในการทำงานไม่ชัดเจน ขาดรางวัลหรือสิ่งตอบแทนที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป
คุณกำลังอยู่ในภาวะ Burnout อยู่รึเปล่า?
ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณกำลังเจอเรื่องนี้ คุณอาจจะต้องเพิ่มการพักผ่อนและเริ่มปรับสมดุลการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงานให้เร็วที่สุด
เริ่มจาก...
นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา ไม่ต้องกังวลในเรื่องงาน...
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น...
หากิจกรรมทำนอกเวลาฟังเพลง, ดูหนัง, ออกกำลังกาย หาวันลาพักร้อนเป็นระยะเวลาสั้นๆเพื่อลดความเครียดลง...
ปรับทัศนคติในการทำงานทำความเข้าใจในเนื้องาน...
เปิดใจให้กับคนรอบข้างที่แตกต่างจากคุณและพูดคุยปรึกษากับหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน...
แม้ภาวะหมดไฟ Burnout Syndrome นั้นอยู่ในกลุ่มอาการ ไม่รุนแรงถึงขึ้นโรคซึมเศร้า เพียงแต่เป็นอาการเบื่องาน หมดแรงจูงใจ แต่เมื่อใดที่รู้สึกอึดอัด หดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว รู้สึกเป็นทุกข์กับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ และมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น
ควรหาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญใน การให้คำปรึกษามืออาชีพ หรือจิตแพทย์สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โดยเร็ว
เขียนโดย: กรมสุขภาพจิต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เครดิตรูปภาพ: Luis Villasmil