ซึมเศร้าหลังคลอดน่ากลัวกว่าที่คุณคิด

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ อาการซึมเศร้าหลังคลอด หรือ อารมณ์เศร้าหลังคลอด จะเป็นอยู่นานประมาณ 7-10 วัน แต่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ โดยคุณแม่จะมีอาการซึมเศร้าเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ผลจากฮอร์โมนที่ลดระดับลงอย่างรวดเร็วจนตรวจไม่พบในกระแสเลือด เชื่อว่าอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณแม่เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ อารมณ์เศร้าของแต่ละคนจะมีความรุนแรงแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่มักจะปรากฏให้เห็นในช่วง 2-5 วันแรกหลังคลอด (ภาวะซึมเศร้ามักจะเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด หลังจากนั้นอาจจะพบได้บ้างประปราย บางทีอาจจะพบหลังคลอดไปแล้วหลาย ๆ เดือน และจะเป็นอยู่นานประมาณ 7-10 วัน แต่ไม่เกิน 2 สัปดาห์

ในช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ คุณแม่จะมีความสุขที่ได้อยู่เคียงข้างกับลูกน้อย แต่ไม่นานต่อมากลับพบว่าตนเองรู้สึกเศร้าสร้อย สับสน และเป็นห่วงเป็นกังวลเรื่องการทำหน้าที่แม่...

คุณแม่จะมีอารมณ์อื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เศร้า รู้สึกสับสนแปรปรวน มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล จิตใจอ่อนไหว นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารแต่ไม่ถึงกับกินอะไรไม่ได้เลย บางรายก็คิดโทษตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า ปฏิเสธการเข้าสังคมหรือการพูดคุยตามปกติ คิดว่าคุณไม่ผูกพันกับลูก หรือไม่มีความรู้สึกใดๆ กับลูก และอาจถึงกับร้องไห้ออกมาโดยไม่ทราบสาเหตุ

นิสัยส่วนตัวของคุณแม่สามารถส่งผลได้เหมือนกัน ที่ทำให้คุณแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ บางคนเป็นคนที่ชอบทำงาน พอไม่ได้ออกไปทำงานต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูก แบบนี้ก็จะเกิดเป็นความเครียดสะสม และทำให้เสี่ยงต่อการเป็น "โรคซึมเศร้าหลังคลอด" ขึ้นมาได้

สาเหตุของโรคซึมเศร้าหลังคลอดมีได้หลายอย่าง...

  1. การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนหลังคลอด
    เนื่องจากว่าจะมีฮอร์โมนบางตัวที่เปลี่ยนแปลงไป ฮอร์โมนนั้นหลั่งออกมาเป็นจำนวนมากในระหว่างตั้งครรภ์นั้นและลดปริมาณลงอย่างฉับพลันหลังคลอด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั้นกระทบกับเรื่องอารมณ์ของคุณแม่โดยตรง

  2. ความเครียด
    ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์และระหว่างคลอด คุณแม่จะเกิดความกังวลว่าจะเลี้ยงลูกอย่างไร จะดูแลอย่างไร รวมถึงความเครียดจากการทำงาน เครียดจากเรื่องเงินทอง ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว

ข้อสังเกตภาวะเบบี้บลูหรือโรคซึมเศร้าหลังคลอด

คุณแม่อาจจะมีอาการเก็บตัว แยกตัว ไม่สนใจหรือไม่มั่นใจในการดูแลคนอื่นโดยเฉพาะลูก ไม่มีช่วงเวลาที่มีความสุข เศร้าจนคิดฆ่าตัวตาย กังวลและนอนไม่หลับติดต่อกันหลายวัน หากคุณแม่มีอาการทางอารมณ์ผิดปกตินานเกิน 2-3 สัปดาห์ ก็ควรพาไปพบแพทย์

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับ การรักษาทางการแพทย์ คุณแม่ควรบอกปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิดเพื่อเข้ารับการรักษาทางการแพทย์และกินยาด้วยยาที่ปลอดภัยในช่วงให้นมบุตร

ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ กำลังใจจากคนที่อยู่ใกล้ชิดสามารถช่วยคุณแม่ได้ ในทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องเผชิญหน้ากับความกดดัน และการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่และกำลังใจและรักษาที่ถูกต้องสามารถช่วยให้คุณแม่กลับมามีความสุขกับการเลี้ยงลูกน้อยต่อไปได้

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ คุณแม่ควรบอกปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิดเพื่อเข้ารับการรักษาทางการแพทย์และกินยาด้วยยาที่ปลอดภัยในช่วงให้นมบุตร




เขียนโดย: Help Me Thailand กรมสุขภาพจิต

เครดิตรูปภาพ: Alina Buzunova