ข้างในมันหนักอึ้งกว่าที่เห็น

ภายนอกผู้ป่วยซึมเศร้าอาจจะดูเหมือนไม่มีอะไรแต่ภายในกำลังทุกข์ทรมาน 'โรคซึมเศร้า' เป็นโรคทางจิตเวชด้านความผิดปกติของสารเคมีในสมอง สาเหตุอื่นๆ พันธุกรรม สารเสพติด ความเครียด การสูญเสียความรัก ความผิดหวัง

###ความเชื่อผิดๆ ที่หลายคนมองต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เช่น "อ่อนแอ" "ใจไม่สู้" "เอาเเต่คิดลบ" "มองโลกแง่ร้าย" "ไม่อดทน" "เปราะบาง" “ทำไมเงียบลง" "ดูซึมๆนะ"

ความเข้าใจผิดเหล่านี้ ทำร้ายตัวผู้ป่วยอย่างมาก ไม่มีใครที่อยากเศร้าตลอดเวลา นั่นหมายความว่า 'ซึมเศร้า' เป็นอาการป่วยที่ต้องการ การรักษา

คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการรักษา มีอัตราการฆ่าตัวตาสูงถึง 20% มากกว่าคนทั่วไปหลายสิบเท่า

ข้อสังเกต: เป็นโรคทางจิตเวชด้านความผิดปกติทางอารมณ์ที่พบได้บ่อย
อาการหลัก อารมณ์เศร้า ท้อแท้ ซึม หงอย ทั้งที่ตัวเองรู้สึกหรือคนอื่นก็สังเกตเห็น เบื่อ ไม่มีความสุขกับกิจกรรมที่เคยทำ
อาการร่วมอื่นๆ เบื่ออาหารหรือกินอาหารมากเกินไป นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป มีพฤติกรรมช้าลงหรือกระวนกระวาย ร่างกายอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง ใจลอยไม่มีสติ รวมไปถึงความคิดที่ตำหนิตัวเองหรือมองตัวเองไร้ค่า คิดเรื่องฆ่าตัวตาย

แล้วในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา พบอาการดังต่อไปนี้บ่อยแค่ไหน? แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า

หมายเหตุ - แบบประเมิน [แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า] พัฒนาจาก แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย (Patient Health Questionnaire: PHQ-9) จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับจากโปรแกรมนี้จึงไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้ การตรวจรักษาเพิ่มเติมหรือการให้ยารักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และการปรึกษากันระหว่างแพทย์และตัวท่าน

ซึมเศร้ารักษาหายได้ไหม?

ซึมเศร้ารักษาหายได้ด้วยยาหรือรักษาด้วยจิตบำบัด

หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการรักษาโรคทางจิตเวชสิ้นเปลืองและเสียเวลา ทั้งๆ ที่จริงแล้วการไม่ไปรักษามีราคาที่แพงกว่า ทั้งทางค่าใช้จ่ายและทางจิตใจ หากปล่อยไว้เรื้อรัง อาจนำไปสู่การหูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวง ทำร้ายตัวเอง จนถึงขั้นฆ่าตัวตาย

อาการของโรค

  1. อาการซึมเศร้า
  2. เบื่อหน่าย คนทั่วไปมักคิดว่า คนเป็นโรคซึมเศร้าต้องเศร้าร้องไห้เสียใจ แต่มีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ร้องไห้ ซึมเศร้า แต่เป็นแบบเซ็ง เบื่อ ไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่มีชีวิตชีวา เพื่อนชวนไปไหนก็ไม่อยากไป อยู่ๆ ก็เบื่อไปหมด ไม่มีความเพลิดเพลินใจ

สิ่งที่ต้องสังเกตคือ นิสัยเราเปลี่ยนไปจากเดิมไหม โดยอาจมีคนทักว่า “ทำไมเงียบลง ผอมลง ทำไมช่วงนี้ไม่พูดไม่จา ดูซึมๆ ไป” สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เราก็ต้องกลับมามองตัวเองว่า เปลี่ยนไปจริงหรือไม่ ช่วงที่เริ่มเป็นแรกๆ อาจจะสังเกตไม่เห็น แต่เรื่อยๆ อาการจะเห็นชัดขึ้น อารมณ์ต่างๆ จะเหมือนกราฟที่ค่อยๆ ตกลงมา

วิธีป้องกันที่ดี

คือ มีเพื่อน มีคนปรึกษา มีคนพูดคุยกัน ลดความเครียดในตัวเรา สำคัญที่สุดอยู่ที่มุมมองของปัญหา ถ้ามุมมองเราดี ความกดดันต่างๆ ก็ลดลง ปรับความคิด ปรับอารมณ์ ผ่อนคลาย อย่าจมกับเรื่องที่ทำให้รู้สึกหดหู่

แนวทางการรักษา 'โรคซึมเศร้า'

โรคซึมเศร้า รักษาได้โดยการทำจิตบำบัดรายบุคคลและการทำจิตบำบัด ร่วมกับรับประทานยาแก้โรคซึมเศร้า โดยตัวยาจะช่วยไปปรับสมดุลของเซโรโทนิน ทําให้อารมณ์ค่อยๆ แจ่มใสขึ้น ใน 2-3 สัปดาห์แรก และต้องใช้เวลา 30-90 วัน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เต็มที่

อาการผลข้างเคียงยา

ที่พบได้บ่อย คือ ความว่องไวลดลงและมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึม มึนงง ในปัจจุบันเพื่อใหเเหมาะสมกับแนวทาง การรักษาจึงมีรูปแบบที่แก้อาการง่วงซึมให้ผู้ป่วยเลือกใช้และหายจากอาการซึมเศร้าที่ไม่กอ่ให้เกิดการเสพติดยาของผู้ป่วย




เขียนโดย: กรมสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เครดิตรูปภาพ: Iz zy